โครงการพัฒนาดอยตุง
(พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ริเริ่มโดยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือ สมเด็จย่า ดำเนินการโดยมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา ครอบคลุมพื้นที่ 29 หมู่บ้านในอำเภอแม่ฟ้าหลวง และอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ประกอบด้วยประชากรประมาณ 11,000 คนจาก 6 กลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ อาข่า ลาหู่ ไทใหญ่ ไทลื้อ ลัวะ และจีนยูนนาน
ดอยตุงตั้งอยู่ใจกลางดินแดนสามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งในอดีตเป็นแหล่งผลิตและค้ายาเสพติดระดับโลก
คนในพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่อย่างแร้นแค้น ไม่มีสัญชาติ ไม่มีสาธารณูปโภคพื้นฐานใดๆ และไม่ได้รับการศึกษา ผู้คนต้องเลี้ยงชีพอย่างไร้ทางเลือกด้วยการตัดไม้ทำลายป่า ปลูกฝิ่น ค้ายาเสพติด และค้าประเวณีเพื่อความอยู่รอด พื้นที่ส่วนใหญ่จึงเป็นภูเขาหัวโล้น เพราะป่าไม้ถูกแผ้วถางเพื่อทำไร่หมุนเวียน อีกทั้งในพื้นที่ยังมีกองกำลังติดอาวุธหลายกลุ่ม


แต่ที่เขาไม่ดีเพราะขาด
โอกาสและทางเลือก
สมเด็จย่าทรงเล็งเห็นว่า ต้นเหตุของปัญหาต่างๆ เหล่านี้คือ ความยากจน และการขาดโอกาส ทรงมีพระราชดำรัสว่า “ไม่มีใครอยากเป็นคนไม่ดี แต่ที่เขาไม่ดีเพราะขาดโอกาสและทางเลือก”
โครงการพัฒนาดอยตุงฯ จึงแก้ไขปัญหาด้วยแนวทางที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางและพัฒนาอย่างครบวงจรทั้งด้านสุขภาพ อาชีพ รายได้ การศึกษา และสิ่งแวดล้อม
ให้เขาช่วยตัวเขาเอง
คือหัวใจหลักของการพัฒนาที่ดอยตุง เพื่อให้ “คนกับป่าอยู่ร่วมกันอย่างพึ่งพาและยั่งยืน”
โครงการพัฒนาดอยตุงฯ ฝึกฝนทักษะอาชีพ และสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่คนทุกกลุ่มในพื้นที่ผ่านธุรกิจเพื่อสังคม 5 ประเภท ได้แก่ หัตถกรรม เกษตร อาหารแปรรูป คาเฟ่ และท่องเที่ยว ถือเป็นการมอบโอกาสให้คนดอยตุงได้สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพสู่สายตาชาวโลกอย่างเต็มภาคภูมิ ทั้งยังเป็นต้นแบบการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง เพราะการพัฒนาจะยั่งยืนได้ก็ต่อเมื่อคนในพื้นที่เป็นคนสานต่อ และสามารถต่อยอดการพัฒนาด้วยตัวเขาเอง

ดอยตุง ธุรกิจที่ทำให้โลกดีขึ้น
ดอยตุงทำธุรกิจเพื่อสังคมที่นอกจากจะมุ่งลดช่องว่างทางสังคมแล้ว ยังมุ่งหวังที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสร้างผู้นำรุ่นใหม่ที่มีความรับผิดชอบบนพื้นฐานของประโยชน์ส่วนรวมในระยะยาว
ผลิตภัณฑ์ที่แท้จริงในการทำธุรกิจของดอยตุง คือ การส่งเสริมให้ชุมชนเข้าถึงปัจจัยพื้นฐานอย่างเท่าเทียม ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ ประกอบอาชีพที่มีศักดิ์ศรี มีความมั่นคงและความสุขในการดำรงชีวิต
– ถ่านจากเปลือกแมคคาเดเมีย
แบรนด์ดอยตุง ธุรกิจเพื่อสังคมสู่ความยั่งยืน

ตลอดการทำงานกว่า 30 ปีที่ผ่านมา
ดอยตุงยึดหลักในการดำเนินธุรกิจว่า
“ชาวบ้านได้อะไร สังคมได้อะไร และสิ่งแวดล้อมได้อะไร”
Education Opportunity
Environment
พ.ศ.2561 พื้นที่ป่าเพิ่มขึ้นจาก 28% เมื่อ พ.ศ. 2531 เป็น 87%

